Thursday, August 27, 2015

โรคภาวะกรดไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร Laryngopharyngeal Reflux Disease

โรคภาวะกรดไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร  ( Laryngopharyngeal  Reflux  Disease
หรือ  Gastraoesophageal  Reflux  Disease )

เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารด้านบน  และอาจไหลผ่านหลอดอาหารเข้าสู่หลอดคอและกล่องเสียงภาวะนี้เกิดได้ตลอดเวลาไม่ว่ากำลังรับประทานอาหารหรือไม่ก็ตาม  น้ำกรดในกระเพาะอาหารจะระคายเคืองและทำให้หลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเกิดแผลรุนแรงทำให้ปลายหลอดอาหารตีบหรือเกิดการ เปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

สาเหตุของภาวะกรดไหลย้อน

โรคนี้เกิดได้หลายสาเหตุเช่น


     การคลายตัวของหลอดอาหารส่วนปลายกล้ามเนื้อหรือหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ  อาการสามารถเกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน  ผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นอาจไม่รู้สึกว่ามีความผิดปกติ  หรือไม่เคยมีอาการของโรคกระเพาะมาก่อนเลยก็ได้
     ความดันของหูรูดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ
     การเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหารทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น
     เกิดจากการผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
    เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด  หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

อาการของโรคกรดไหลย้อน

ผู้ป่วยอาจมีอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายอาการร่วมกันได้เช่น

    เสียงแหบเรื้อรังโดยเฉพาะเวลาเช้า
    รู้สึกขมในปากและคอหลังจากตื่นนอนใหม่ๆ
    เจ็บคอเรื้อรัง  กล่องเสียงและคออักเสบบ่อยๆ  และเป็นๆหายๆ
    หอบหืด  ระคายคอ  รู้สึกว่าคอไม่โล่ง  กระแอมกระไอเป็นประจำ
    มีเสบหะในคอมากและรู้สึกว่าเสมหะไหลคงคออยู่เรื่อยๆ  ลมหายใจมีกลิ่น  มีกลิ่นปาก
    กลืนอาหารลำบาก กลืนติดๆ กลืนไม่ลงกลืน   Pa Wa Da Da Ju Do Da Pa Da Da Wu Wu Nu Sa Br Ip Mi Ju Ip Me Da    กลืนแล้วเจ็บในคอ  รู้สึกเหมือนมีก้อนมาจุกที่คอ
    แสบ-ร้อนบริเวณลิ้นปี่ลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอและจะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก  การโน้มตัวไปข้างหน้า  การยกของหนัก  หรือการนอนหงาย
    เรอเปรี้ยว  ท้องอืดแน่นท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน

การรักษา

ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 6 สัปดาห์ - 6 เดือนอาการอาจหายสนิทหรือกลับมาเป็นได้อีกบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการติดตามดูอาการ  บางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจค้นพิเศษเพิ่มเติมเช่นการส่องกล้องทางเดินอาหาร  การกลืนแป้งการตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหารและการตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร  การรักษาจะแบ่งเป็น  3  แนวทางคือ

    การใช้ยาลดกรดที่ถูกต้อง  การใช้ยาเพื่อควบคุมการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารที่ถูกต้องปัจจุบันมียาอยู่หลายกลุ่มซึ่งออกฤทธิ์แตกต่างกันไปผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
    หากการรักษาด้วยยาลดกรดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น  หรือมีอาการดื้อยาอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเย็บเนื้อหูรูดระหว่างหลอดอากหารและกระเพาะอาหารให้กระชับขึ้น
    เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต  และงดอาหารบางอย่าง เช่น

     หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์โดยเฉพาะมื้อเย็น  งดเครื่องดื่มประเภทชา  กาแฟ  และน้ำอัดลม
    งดการสูบบุหรี่  เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดกรดในกระเพาะมาก
    งดอาหารรสจัด  เผ็ดจัด  เปรี้ยวจัด  ของหมักของดอง  อาหารมันที่มีไขมันสูง  ช็อคโกแลต  อาหารที่มีส่วนประกอบของมิ้นท์และมะเขือเทศจำนวนมาก  น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
    ทานอาหารแต่พอดีไม่อิ่มเกินไป  ทานแต่น้อยๆแต่บ่อยๆได้
    ระวังไม่ให้อ้วนเกินไป  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    ไม่สวมใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือคับเกินไป
    นอนตะแคงซ้าย  หรือนอนหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว
     อาหารมื้อเย็นต้องไม่ทานมากเกินไปและไม่ควรนอนทันทีหลังมื้ออาหารอย่างน้อย  3  ชั่วโมง
    ทำจิตใจให้สบายผ่องใส  ไม่เครียด

โรคภาวะกรดไหลย้อนนี้ควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมและต่อเนื่องเมื่อรักษาจนอาการดีขึ้นแล้วก็ควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องด้วย Ch Tw Ti Da Ba Ni L L Wo Ka Ca Li Sk Dk Ko Co Co Tr Ap Va Sa Fi Tu Da Bc Al   เพราะโรคนี้อาจกลับมาเป็นได้อีกถ้ายังมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นอยู่เพราะฉะนั้นถ้าใครมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่านิ่งนอนใจหรือละเลยว่าเป็นแค่โรคกระเพาะนะคะ  เพราะพบว่าภาวะกรดไหลย้อนมีผลกับมะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งหลอดอาหารด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า  40  ปี

No comments:

Post a Comment