ผู้เขียนมีโรคปวดหลังจากหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับ เส้นประสาท มานานร่วม 20 ปี ผ่าตัดมาแล้ว 2 ครั้ง นอนรอคิวผ่าตัดครั้งที่ 3 ที่ รพ.เลิดสิน
ทนทุกข์ทรมานมานานหลายปี รักษาจากแพทย์หลายท่านที่ชื่อเสียงระดับประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งอาการปวดที่เกิดขึ้นบ่อยๆได้
จนวันนี้มีอาการดีขึ้นจึงอยากสรุป ความเห็นเผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ร่วมชะตากรรมคนอื่นๆ
อาการเริ่มแรกเกิดจากก้มตัวยกของอย่างไม่ถูกท่า มีอาการแปล๊บขึ้นที่กระดูก สันหลังบริเวณบั้นเอว จนขยับขาทั้งสองข้างไม่ได้ อีก 5 นาทีเริ่มทุเลาจึงค่อยๆขึ้นรถ ขับไปหาหมอด้วยตนเอง แบบเดินลากขาอย่างช้าๆ
หมอที่คลินิคว่ากล้ามเนื้ออักเสบ จึงฉีดยาแก้ปวดและอักเสบ ให้ กลับบ้าน หยุดงานเดินไม่สะดวกไป 3 วัน
หลังจากนั้นอาการแปล๊บๆ ก็จะเกิดปีละ 2-3 ครั้งอยู่หลายปี ทุกครั้งต้องหยุดพักอย่างน้อย 3-4 วันเพราะลุกไม่ไหว
จนไปพบแพทย์เฉพาะทางซึ่ง นับเป็นกระบี่มือหนึ่งของจังหวัด รักษากันเป็นปี โดยเริ่มจากยากิน ยาฉีด และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ดูอาการ จนสุดท้ายหมอสั่งให้ไปทำเอ็กซเรย์ MRI ที่รพ.บำรุงราษฎร์ กทม. ซึ่งขณะนั้นมีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย พบว่าหมอนรองกระดูกสันหลังมันปลิ้นออกมาขวางดันไขสันหลังและเส้นประสาท จนเกิดอาการชาไปถึงหลังเท้า
หมอเลยผ่าตัดขูดเอาหมอนรองกระดูกที่แตกออก โดยเปิดแผลคืบนึงที่หน้าท้อง พร้อมทั้งตัดกระดูกเชิงกรานมาแว่นนึงขนาดเท่ากับหมอนรองกระดูกที่ขูดออก อัดเข้าไปรับช่องว่างข้อกระดูกสันหลังแทน ซึ่งแน่นอนมันจะส่งผลให้ข้อต่อส่วนนี้ไม่มีการยืดหยุ่นอีกต่อไป เวลาผ่านไประยะนึงมันก็จะเชื่อมข้อบนและข้อล่างให้ต่อเป็นชิ้นเดียวกัน โดยต้อหยุดพักไปร่วมเดือน
หลังผ่าตัดก็ยังคงพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเป็นปี ก็ไม่หายขาด แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าเก่ามาก สุดท้ายหมอขอแก้ตัวอีกครั้งโดยการผ่าตัดจากด้านหลัง เปิดแผลช่วงกระดูกสันหลังที่มีปัญหา พร้อมยึดโยงข้อกระดูกสันหลังบนและล่างด้วยโลหะ Lp
Da
Be
Wi
So
Ch
Gu
Tr
Da
Ma
Me
Ma
Ma
Da
Bc
Mi
La
La
La
Mi เพื่อเสริมความแข็งแรงไม่ให้เกิดการเสียดสีหรือกดทับเส้นประสาทอีก พักไปเกือบ 3 อาทิตย์แต่ก็พบว่าอาการที่ยังคงชาอยู่ที่หลังเท้า ไม่ได้หายขาด เลยรู้สึก ปลงๆและไม่สนใจอะไรอีก นานๆเป็นปีถึงจะเจ็บหนักๆสักครั้งนึง เลยยอมรับว่า มันคงเป็นอย่างนี้แหละ
ล่วงเลยไปอีกหลายปี ประมาณปี 2544 ก็เริ่มปวดระดับต้องนอนพักถี่ขึ้น ไปพบแพทย์ที่รพ.กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจาก รพ.เลิดสิน เชี่ยวชาญเรื่องกระดูก เอ็กซเรย์ ไปหลายครั้ง ทั้งธรรมดาและแบบ สแกนคอมพิวเตอร์ แต่ก็เห็นไม่ชัด เลยต้องลองทำ MRI อีกครั้ง ปรากฏว่าภาพเกิดแสงสะท้อนมาก จนดูไม่รู้เรื่องเพราะมีโลหะอยู่ข้างใน สุดท้ายหมอขอฉีดสีเข้าไขสันหลัง เพื่อให้ภาพเอ็กซเรย์ชัดเจนขึ้น
พบว่ามีหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง คือ ข้อบน และข้อล่างของข้อที่เคยมีปัญหามาก่อน ซึ่งเกิดจากข้อที่เสียไปไม่ยืดหยุ่น จึงไปเพิ่มภาระให้กับข้อบนและล่างมากกว่าปกติ...
สุดท้ายนัดให้ไปที่รพ.เลิดสินเพื่อผ่าตัด นอนรออยู่ 3 วัน คณะแพทย์แจ้งยกเลิกนัด เพราะไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่จะผ่าตัดจุดเดิมซ้ำหลายครั้ง เลยจำใจอดทนรับการเจ็บปวดปีละหลายหนต่อไป
จนกระทั่งปี 46 มีคุณหมอท่านหนึ่งของ รพ.จุฬาฯ สรุปอย่างตรงประเด็นให้ฟังว่า โรคนี้มันรักษา ไม่หายขาดหรอก หากเจ็บบ่อยหรือชาขามากก็ผ่าตัดสถานเดียว แต่มีทางช่วยป้องกันและลดการเจ็บปวดได้ โดยต้องบริหารกล้ามเนื้อหลังให้ แข็งแรง เพื่อยึดกระดูกสันหลังให้มั่นคง หมอสอนท่าบริหารมาให้หลายท่า ซึ่งใช้เวลาต่อครั้งเกินชั่วโมง ทำอยู่ได้ไม่กี่วันก็ยอมแพ้ จนไปพบคุณหมอสมศักดิ์ที่รพ.กรุงเทพฯ บอกว่าถ้าท่านผ่าตัดตั้งแต่แรกจะต้องบังคับให้ทำกายภาพบำบัดหลังแผลหายดีแล้ว ซึ่งก็คงจะทำให้ไม่ต้องมาพบหมออีกเหมือนตอนนี้ เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซากอีก
คุณหมอได้อธิบายวิธีการบริหารที่รู้สึกได้เลยว่าหมูมาก Mi
Ra
Sa
Go
Da
Bo
Sh
Do
Da
Ro
Co
Ip
Oa
Oa
Do
Ve
Sa
Fl
Go
Tr
Sh
Al
Al
Da
Mi
Ze
Ka
และใช้เวลาน้อยมากๆต่อวัน จึงเริ่มทำต่อเนื่องมาได้ 2-3 เดือนแล้ว รู้สึกว่าแผ่นหลังแข็งแรงขึ้น พร้อมกับหน้าท้องก็เฟิร์มขึ้น ที่สำคัญอาการเจ็บแปล๊บๆที่เป็นบ่อยแต่ไม่รุนแรงหลายเดือนก่อนหายขาดไปเลยเหมือนปลิดทิ้ง
อย่างนี้เลยต้องยกเครดิตให้การบริหารกล้ามเนื้อหลังเป็นพระเอกตัวจริง
อยากรู้แล้วใช่มั้ยครับว่าทำยังไง
เอ้าฟังนะ.....ตื่นเช้าทุกวันให้บริหารกล้ามเนื้อหลังดังนี้
• นอนหงายยืดเท้าตรงแนบชิดกัน
• ยกปลายเท้าลอยสูงขึ้นประมาณหนึ่งฟุต (ไม่ควรยกให้สูงกว่านี้)
• ฝืนค้างไว้พร้อมนับสิบวินาที
• ครบแล้วลดปลายเท้าวางลงพักห้าวินาที...ดังนี้คือหนึ่งเซ็ท
• ทำติดต่อกันรวมสิบเซ็ท นั่นหมายถึงใช้เวลาไปรวมร้อยห้าสิบวินาทีต่อวันเท่านั้น
เห็นแล้วยังครับ ว่ามันง่ายมากจริงๆ
• แต่ละสัปดาห์ให้เพิ่มน้ำหนักห้าร้อยกรัมถ่วงไว้ (อาจใช้ถุงทรายที่มีขายทั่วไป)
• น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะค่อยๆสร้างความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อหลังเพื่อแก้ปัญหาที่เหตุ
• น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะสิ้นสุดที่เท่าใดเหรอครับ คุณหมอบอกว่าจนกว่ายกไม่ไหว...แต่
• น้ำหนักขั้นต่ำที่แต่ละคนต้องยกให้ได้มีวิธีคำนวณดังนี้ครับ
น้ำหนักขั้นต่ำที่ต้องยกได้ = น้ำหนักตัว – น้ำหนักท่อนขาสองข้าง / 10
โดยปรกติน้ำหนักท่อนขาสองข้างประมาณ 10 กิโลกรัม ถ้าอ้วนหรือผอมกว่าปกติก็
ปรับเพิ่มหรือลดเอาตามความเหมาะสม
หวังว่าวิทยาทานในการบริหารด้วยตนเองวันละ 150 วินาที จะช่วยให้ผู้เป็นโรค
ปวดหลังคลายทุกข์ได้ในเร็ววันนี้นะครับ และขอให้ผลบุญที่ช่วยให้ผู้อื่นคลายทุกข์
จงอย่าได้มีอาการปวดหลังมากล้ำกลายข้าพเจ้าอีกต่อไปเลย
No comments:
Post a Comment