ตะคริวเป็นอาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง พบได้ในทุกกล้ามเนื้อแต่ที่มักพบได้บ่อยคือตะคริวที่กล้ามเนื้อน่อง แสดงอาการมักนานไม่เกิน 2 นาที แต่ในบางรายอาจนานถึง 5 นาทีหรือมากกว่า ตะคริวไม่ใช่อาการที่จะส่งผลทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้แต่ก็อาจทำให้เกิด อันตรายได้ถ้าเกิดอาการขณะกำลังว่ายน้ำหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้ถ้าเกิด อาการขณะกำลังขับรถ
ตะคริวไม่ใช่อาการที่จะเกิดในขณะที่เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย ยังสามารถเกิดได้ทุกเวลา บางคนอาจมีอาการในขณะที่กำลังนอนหลับซึ่งทำให้เจ็บปวดทรมานจนรบกวนการนอนได้
สาเหตุการเกิดตะคริวมีได้หลายทฤษฏี ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียแร่ธาตุแมกนีเซียมไปกับเหงื่อในขณะการออกกำลังเป็น เวลานานๆ หรือมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อนั้นๆ เป็นเวลานานๆ ทำให้ขาดการไหลเวียนเลือดขาดการนำออกซิเจนและแร่ธาตุไปที่กล้ามเนื้อนั้น หรือเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องสูญเสียแร่ธาตุให้กับลูกตัวน้อยที่กำลัง เติบโตอยู่ในท้อง Sh
Ma
Kn
Wh
Wo
Hi
Be
We
Hi
Sh
Id
Wo
Hi
Me
Ma
Le
Ge
Hi
Go
Fa
Wo
Wh
Wh
หรือเกิดจากตัวยาบางชนิดที่ได้รับประทานเข้าไป การอาเจียนหรือท้องเสียก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สูญเสียแร่ธาตุ แมกนีเซียมได้เช่นกัน
นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อนั้นๆ และประการสุดท้ายอาจเกิดจากการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดีพอ ซึ่งมักพบในคนที่มีภาวะหลอดเลือดตีบ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น1 แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ การกินอาหารชนิดเดียวซ้ำๆ ซากๆ การไดเอ็ท และการขาดน้ำ 2
หนทางการรักษาอาการตะคริว
การรักษาที่ดีและเห็นผลได้ชัดเจนคือ การยืดกล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว หลักการยืดกล้ามเนื้ออย่างง่ายๆ คือการทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับการเกร็งตัวที่มีการ แสดงออกมา อาทิเช่น การเกิดตะคริวที่น่องจะทำให้เกิดการเกร็งปลายเท้าจิกชี้ลงพื้นดิน แก้โดยให้ทำการดันปลายเท้าให้กระดกขึ้นช้าๆ (ถ้ามีคนช่วยยืดให้ ดังรูปที่ 1) แต่ห้ามทำการกระตุกหรือกระชากรุนแรงอย่างรวดเร็ว เพราะจะเจ็บปวดจนกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ หากเกิดตะคริวขณะอยู่เพียงลำพังให้พยายามนั่งยองๆ หรือนั่งเหยียดขาค้างที่เป็นตะคริวแล้วพยายามฝืนกระดกข้อเท้าขึ้นดังรูปที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ค้างในท่านี้ไว้สักครู่อาการตะคริวที่น่องก็จะดีขึ้น เป็นต้น
No comments:
Post a Comment